วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

16 มกราคม 2552

วันครูแห่งชาติ
ความหมาย
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์
คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ

ดอกไม้และเครื่องไหว้ครู


ดอกเข็ม
ความหมายของดอกเข็ม
ขึ้นชื่อว่าดอกเข็มแล้ว คงไม่มีใครไม่รู้จัก และความหมายหนึ่งที่เราต่างก็รู้กันสำหรับดอกเข็มก็คือ ดอกเข็มหมายถึง ความฉลาดหลักแหลม อันเปรียบเสมือนเข็มที่มีความแหลมคม เราจึงใช้ดอกเข็มในพิธีไหว้บูชาครูกันทุกปี แต่แน่นอนค่ะว่าเมื่อเรามีความหมายของดอกเข็มมาฝากเพื่อนๆ กันแล้วนั้น ต้องไม่ใช่หมายถึง ความฉลาดหลักแหลมอย่างเดียวแน่นอนค่ะ


ดอกมะเขือ
เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยธรรมชาติของต้นมะเขือเมื่อมีดอก ซึ่งดอกที่จะให้ผลมะเขือได้ต้องโค้งลง เหมือนผู้อยู่ในอาการแสดงความเคารพ หรือคารวะบุคคลที่ตนเคารพบูชา ยกย่อง ถ้าดอกมะเขือดอกใดชี้ดอกขึ้นเหมือนดอกไม้ชนิดอื่น ดอกนั้นจะไม่ให้ผล เพราะจะเน่าร่วงหล่นไป เหมือนบุคคลที่ขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ขาดความเคารพก็จะหมดโอกาสที่จะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากครู


หญ้าแพรก
เป็นสัญลักษณ์ของความอดทน คุณสมบัติพิเศษของหญ้าแพรก คือ ความอดทน หญ้าแพรกที่เราเห็นตามสนาม ตามทางเดิน ตามคันนา เมื่อถึงหน้าแล้วแม้ว่าอากาศจะแห้งแล้งจัดจนต้นไม้ทั้งหลายทนไม่ไหวต้องแห้งเ???่ยวตายไปตาม ๆ กัน แต่หญ้าแพรกก็ยังทนอยู่ได้ไม่ตาย ครั้นถึงฤดูฝน ฝนตกมากเกิดน้ำท่วมขังต้นไม้ที่ชอบน้ำก็ชูยอดเขียวชอุ่ม ส่วนต้นไม้ที่ไม่ชอบน้ำก็เน่าตาย แต่หญ้าแพรกก็ยังอยู่ได้ไม่ตาย เปรียบเหมือนบุคคลที่มีความอดทนเหมือนหญ้าแพรก กล่าวคือ ศิษย์ที่มีคุณสมบัติที่ดีจะส่อแววว่าเมื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาการใดก็ตาม จะเป็นผู้ที่สามารถเรียนได้สำเร็จตามหลักสูตรที่กำหนด


ข้าวตอก
เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย แม้ว่าโดยธรรมชาติแล้วคนเรามักจะมีความซุกซน ความเกียจคร้าน เป็นสมบัติมากบ้าง น้อยบ้างก็ตาม ตาเมื่อเขามีความต้องการศึกษาหาความรู้ เขาก็ต้องรู้จักควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบ ในระเบียบหรือในกฎเกณฑ์ที่สถาบันได้กำหนดไว้ ใครก็ตามหากตามใจตนเอง ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บุคคลนั้นก็จะเป็นเหมือนข้าวเปลือกที่ถูกคั่ว แต่ไม่มีโอกาสได้เป็นข้าวตอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น