วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

วันทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก
3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี



ความเป็นมาของวันทหารผ่านศึก

...สงคราม...เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งของมนุษยชาติ ชนต่างเผ่าต่างพันธุ์แสดงหาอำนาจโดยทำการสู้รบเบียดเบียนกัน ฝ่ายผุ้รุกรานอ้างเหตุผลความจำเป็นต่างๆนานา ฝ่ายที่ต่อสู้ขัดขวางก็ทำไปตามสิทธิและความรับผิดชอบของตน ประเทศไทย เป็นชาติหนึ่งที่มีประวัติการสู้รบอันยาวนาน ...มิใช่เพื่อรุกราน แต่เพื่อการปกป้องเอกราชอธิปไตยและดินแดนไว้ให้ลูกหลานสืบไป บรรพบุรุษของไทยต้องสละชีวิต เลือดเนื้อ เพื่อรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ ชาวไทยทุกคนต่างรำลึกในวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ของวีรชนไทย เมื่อถึงวาระอันสำคัญ ลูกหลานไทยทุกคนพร้อมที่จะแสดงความคารวะเพื่อเป็นการรำลึกและเทิดเกียรติของท่าน


อดีต
จากอดีตมาจนปัจจุบัน เมื่อเกิดศึกสงครามชายไทยต้องถูกส่งออกไปทำการรบ เมื่อสำเร็จสิ้นสงครามก็กลับคืนสู่ภูมิลำเนาเดิม ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทหารไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบถูกปลดปล่อยอย่างกระทันหัน ทำให้เกิดความเดือดร้อนในการครองชีพ โดยเฉพาะครอบครัวของผู้เสียชีวิตหรือทหารที่พิการทุพพลภาพ ดังนั้น เพื่อหาทางช่วยเหลือทหารผ่านศึกเหล่านี้ รัฐบาลไทยในสมัยนั้น ซึ่งมีพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุน" เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๘ คณะกรรมการชุดนี้ได้ปฏิบัติงานโดยใช้สำนักงานและเจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการทหาร (ปัจจุบันคือ กองบัญชาการทหารสูงสุด) และได้พิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุนจากงบประมาณของกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกนอกประจำการเหล่านั้น เนื่องจากปริมาณงานด้านการให้ความช่วยเหลือในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกนอกประจำการมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น การดำเนินงานโดยคณะกรรมการไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงจัดตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" ขึ้นเพื่อให้เป็นหน่วยงานถาวร ทำหน้าที่ให้การสงเคราะห์แก่ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง โดยได้มีการร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งถือเป็นวันทหารผ่านศึกตลอดมา


ปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ สภาทหารผ่านศึกสภากลาโหม และรัฐบาล ได้พิจารณาปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเสียใหม่เพื่อเป็นการขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึง ทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด และรวมถึงทหารนอกประจำการที่มิได้ผ่านศึกด้วย กับทั้งยังได้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหาร ที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้ามารวมเป็นหน่วยเดียวกับองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เพื่อให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน พระราชบัญญัตินี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

สัญลักษณ์วันทหารผ่านศึก

"ดอกป๊อปปี้" ในทางสากลแล้วถือว่า เป็นดอกไม้ที่สื่อความหมายถึง ทหารผ่านศึกผู้พลีเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องมาตุภูมิอันเป็นที่รัก และในประเทศไทยยังกำหนดให้เป็น สัญลักษณ์ ของวันทหารผ่านศึก ๓ กุมภาพันธ์ ของทุกปีอีกด้วย ซึ่งในวันนี้ดอกป๊อปปี้สีแดงจะบานสะพรั่งไปทั่วแผ่นดิน

สำหรับประเทศไทยแล้ว การจัดทำดอกป๊อปปี้เพื่อจำหน่ายในวันทหารผ่านศึกเกิดจากดำริของ ท่านผู้หญิง จงกล กิตติขจร ประธานสโมสรสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึก หรือมูลนิธิสงเคราะห์ครอบครัวทหารผ่านศึกในปัจจุบัน ที่ต้องการจะดำเนินการหาทุนมาช่วยเหลือทหารและครอบครัวทหารผ่านศึก ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จึงได้เลือกเอาดอกป๊อปปี้สีแดง ซึ่งมีประวัติเกี่ยวโยงถึงสมรภูมิฟลานเดอร์ส สมรภูมิเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ระหว่างสัมพันธมิตร และเยอรมัน ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยสงครามในครั้งนั้น ทหารพันธมิตรได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากสมรภูมินี้มากที่สุด จอมพลเอิร์ล ออฟ เฮก ผู้บัญชาการรบที่นั่นได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่าพิศวงและน่าพิศมัยเกิดขึ้น ณ สมรภูมิดังกล่าว ในบริเวณหลุมฝังศพทหาร

โดยมีดอกป๊อปปี้ป่าขึ้นอยู่เดียรดาษทั่วไป ทำให้เกิดเป็นลานสีแดงฉานสวยงาม ตั้งแต่นั้นมาดอก ป๊อปปี้จึงกลายเป็นดอกไม้อนุสรณ์แห่งวีรกรรมของทหารผ่านศึก เตือนใจให้ระลึกถึงเลือดสีแดงของทหารที่ได้เสียสละเพื่อประเทศ ชาติ สำหรับประเทศไทยได้ส่งทหารเข้าร่วมรบในสงครามต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น